DIR. วชิรญาณ์ วิรัชบุญญากร Vachiraya Wiratboonyagon | Thailand | Thai with English subtitle | 14 min.
สารคดีสั้นที่ได้รับแรงบันดาลใจในการตั้งชื่อจากคำว่า "Climate Change" โดยเปลี่ยนคำว่า "Climate" เป็นคำว่า "KA BOE DIN" ที่เป็นชื่อหมู่บ้าน สารคดีบอกเล่าเรื่องราวการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชุมชนกะเบอะดิน เช่น การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลที่ส่งกระทบต่อชุมชนในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเกษตร วิถีชีวิต และประเพณีวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังมีการเชื่อมโยงไปถึงโครงการเหมืองแร่ถ่านหินที่จะเกิดขึ้นในชุมชนซึ่งจะเป็นตัวเร่งตอกย้ำถึงการเพิ่มขึ้นของผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
The documentary whose title was inspired by the words "Climate Change" unfolds the narrative of climate change impacts on the KA BOE DIN village— altering their agricultural practices, lifestyle, and cultural traditions due shifting seasons. The documentary also sheds light on impending coal mining projects in the area, serving as a catalyst to exacerbate the already profound climate impacts on the community.
SHOWTIME IN BANGKOK
โปรแกรมหนังสั้น 2 (Shorts Program 2)
17 กุมภาพันธ์ เวลา 14:15 น. (February 17 at 2:15 PM)
LOCATION
Auditorium (3rd floor)
179 Witthayu Rd, Lumphini, Pathum Wan, Bangkok 10330
SHOWTIME OUTSIDE BANGKOK:
DIRECTOR
วชิรญาณ์ วิรัชบุญญากร Vachiraya Wiratboonyagon
วชิรญาณ์ วิรัชบุญญากร ชื่อเล่น ม่อน เกิดและเติบโตในหมู่บ้านชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโปว์เป็นหมู่บ้านเล็กๆในอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ได้เข้าศึกษาที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในโครงการชาวไทยภูเขา ในช่วงปี 4 ของมหาวิทยาลัย ได้มีโอกาสทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับ ‘ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองกับการกำหนดนโยบายของรัฐไทยต่อกลุ่มชาติพันธุ์’ ถือเป็นจุดเปลี่ยนของชีวิตที่ทำให้รู้ว่าตัวเองอยากทำงานเกี่ยวกับประเด็นสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์
พอจบเรียนจบมหาวิทยาลัยได้ 2 เดือนก็เริ่มสมัครโครงการอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน มอส. ในปี 2564 โดยองค์กรที่เลือกคือ ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น(CPCR) ในสัญญา 1 ปี ในช่วง 1 ปีของการทำงานก็ได้มีโอกาสไปลงพื้นที่ในหมู่บ้านของพี่น้องชาติพันธุ์หลายหมู่บ้านหลายจังหวัดโดยปัญหาส่วนใหญ่ที่พี่น้องพบเจอคือ ปัญหาเรื่องสิทธิในที่ดิน สิทธิขั้นพื้นฐานและสิทธิในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ในระหว่างที่ทำงานนี้ทางองค์กรขาดแคลนเจ้าหน้าที่ด้านการผลิตการสื่อสาร พอดีกับที่ตนเองมีพื้นฐานในการผลิตสื่อเล็กน้อย เช่น การถ่ายรูป การทำกราฟฟิก การตัดต่อ ทางองค์กรจึงวางบทบาทให้ทำด้านการสื่อสาร พอหมดสัญญาโครงการอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน มอส. ก็ได้เข้ามาทำหน้าที่เจ้าหน้าที่สื่อสารเต็มตัว ปัจจุบันทำงานนี้ได้ 2 ปี
ในช่วงการทำงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่สื่อสาร งานหลักที่ทำจะเป็นการถ่ายรูป ทำอินโฟกราฟฟิก เขียนข่าว นานๆทีจะมีทำวิดีสั้นๆ แต่เมื่อปี 2565 ที่ผ่านมาทางองค์กรมีโปรเจคทำสารคดีเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยมีงบประมาณที่จำกัด เป็นเหตุให้ในฐานะเจ้าหน้าที่สื่อสารต้องรับผิดชอบทำสารคดีให้สำเร็จ โดยได้รับความช่วยเหลือเป็นอย่างดีจากพี่ๆทีมงานในองค์กร สารคดีเรื่อง "ใครเปลี่ยนกะเบอะดิน (KA BOE DIN CHANGE)" จึงถือเป็นสารคดีเรื่องแรกในชีวิตที่ได้ร่วมดำเนินการในทุกๆขั้นตอน ทั้งการเขียนบท การกำกับ การถ่ายทำ และการตัดต่อ หากสารคดีมีข้อผิดพลาดหรือยังดูไม่เป็นมืออาชีพก็ขออภัยมา ณ ที่นี้