top of page
Writer's pictureNakorn Chaisri

เคล็ดลับการเขียนบทหนังให้น่าสนใจ!

การเขียนบทหนังอาจจะฟังดูเป็นเรื่องยาก แต่จริงๆ แล้วถ้าเราลองมานั่งคิดๆ ดี หนังทุกเรื่องที่ดูมีโครงสร้างการเล่าเรื่องที่คล้ายกันทุกเรื่องเลย! วันนี้เราจะมาบอกวิธีเริ่มเขียนบทหนังง่ายๆ ที่ทุกคนก็ทำได้กันนะคะ โดยต้องขอบคุณคำแนะนำดีๆ จากคุณ Don Linder นักเขียนบทที่เขียนบทหนังมาแล้วหลายเรื่องรวมไปถึงหนัง The Cave หรือหนังที่อิงมาจากเรื่องจริงเกี่ยวกับทีมหมูป่า


มาเริ่มกันเลย!


เริ่มจากมุมแรกที่เป็นตอนเริ่มของหนัง ขึ้นมามุมบนซึึ่งเป็นจุดกึ่งกลาง ไคลแม็กซ์ของเรื่อง สุดท้ายลงมาที่การคลี่คลายสู่จุดจบของเรื่องที่มุมขวาล่าง


บทเปิดเรื่อง ( EXPOSITION) เป็นการแนะนำตัวละครหลัก สถานที่ เวลา และทิศทางของหนัง ทำให้ผู้ชมเข้าใจสถานการณ์เบื้องต้นพร้อมกับอาจจะเกริ่นให้เห็นว่ามีปัญหาอะไรซักอย่างที่จะต้องแก้ เพื่อทำให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกอยากจะติดตามเรื่องราวต่อไป


จุดสุดยอด (CLIMAX) ก่อนที่จะไคลแม็กซ์ หนังควรจะแสดงให้เห็นตัวละครหลักพยายามช่วยกันแก้ปัญหา ซึ่งบางครั้งอาจจะล้มเหลว บ้างครั้งอาจจะสำเร็จ ช่วงนี้จะเป็นการขมวดปม (Rising Action) ซึ่งจะเข้มข้นเรื่อยๆ จนมาถึงจุดไคลแม็กซ์ เป็นจุดที่ทุกอย่างหักเหเป็นครั้งสุดท้าย ทุกอย่างจะไม่สามารถกลับไปเป็นเหมือนเดิมได้ และช่วงหลังจากไคลแม็กซ์จะเป็นการการแก้ปม (Falling Action) หมายความว่าจะเป็นตอนที่เรื่องค่อยๆ ลดความตึงเครียดลง ซึ่งจะต่อด้วยการคลี่คลายปัญหาในที่สุด


การคลี่คลายเรื่อง (DENOUEMENT) เป็นช่วงสำคัญที่จะแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงจากประเด็นและปัญหาตอนแรก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการแก้ปัญหาได้สำเร็จแต่บางครั้งอาจจะเป็นการที่ตัวละครหลักล้มเหลวแต่ยังมองเห็นหนทางอื่น

ซึ่งที่ ควรทำ และ ไม่ควรทำ ในการเขียนบทหนังหรือสคริปต์ (Script)

  1. ควร ถามตัวเองว่าไอเดียของคุณนั้นน่าสนใจพอสำหรับคนอื่นรึเปล่า ลองเขียนใจความหลักของเรื่องของคุณออกมาเป็นบรรทัดสั้นๆ

  2. ควร สร้างตัวละครหลักหรือเล่าถึงตัวละครหลักที่ผู้ชมสามารถเข้าถึงและเข้าใจ

  3. ควร เขียนถึงหรือเล่าถึงตัวละครที่คุณรู้จักและเข้าใจอย่างลึกซึ้ง

  4. ควร ที่จะรู้ว่าตัวละครหลักนั้นจะรับมือกับสถานการณ์จต่างๆ ยังไง

  5. ควร ทำให้บทพูดคุยสมจริง อย่างลืมนะว่าคนแต่ละคนมีวิธีการพูดคุยไม่เหมือนกัน

  6. ควร แน่ใจว่าเรื่องของคุณมีขั้นตอนการเล่าเรื่องที่ชัดเจน มีตอนเริ่ม จุดกึ่งกลางและตอนจบ

  7. ควร อ่านบทซ้ำๆ เพื่อหาข้อผิดพลาด (proofread) บทหนังของคุณไม่ควรมีการสะกดผิด วางโครงผิด หากคุณไม่แน่ใจ ลองส่งให้คนอื่นอ่านดูก่อน

ไม่ควร

  1. หากบทหนังของคุณเป็นเรื่องจริง ไม่ควรกลัวที่จะคัดเลือกแค่เนื้อหาสำคัญๆ มาเล่า ไม่จะเป็นต้องเล่าทุกอย่าง เลือกเฉพาะประเด็นที่น่าสนใจและเกี่ยวโยงกับปมที่จะเล่า หากเนื้อหาไหนมีน้ำหนักต่อโครงเรื่อง อย่ากลัวที่จะให้ความสำคัญกับมันเป็นพิเศษ

  2. หากคุณเป็นตัวละครหลักของเรื่อง อย่ากลัวที่จะเปลี่ยนหรือแก้ไขข้อมูลของคุณ ถ้าคุณคิดว่ามันจะช่วยให้ผู้ชมเข้าใจและเข้าถึงตัวละครและประเด็นของหนังได้ดีขึ้น แต่ไม่ควรเปลี่ยนเยอะจนเกินไป

  3. ไม่ควร เขียนรายละเอียดกิริยาและการกระทำมากเกินไปให้ตัวละคร เขียนพอให้ผู้แสดงหรอคนอ่านบทเข้าใจและตามเรื่องได้รู้เรื่อง

  4. ไม่ควร เขียนรายละเอียดของสถานที่ถ่ายทำ หรือมุมกล้องมากเกินไป หน้าที่นี้เป็นของผู้กำกับและผู้กำกับภาพ

  5. ไม่ควร ยึดติดกับบทละครของคุณมากเกินไป เพราะผู้กำกับและนักแสดงจะมีความเห็นอย่างเปลี่ยนแปลงมันตลอด ปล่อยวางและเตรียมใจสำหรับการเปลี่บนแปลง

コメント


bottom of page