top of page

Returned Home

วิดีทัศน์ประกอบเพลงในรูปแบบ animation หัวข้อ “สานสันติสู่ธรรมชาติ”

โดย ชลธร ยงยุคันธร

Meet the Artist

Film Slate Marker

ชลธร ยงยุคันธร

ปัน นักเรียนชั้นม.5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ปทุมวัน มีความสนใจด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ปันได้ผลิตและพัฒนาผลงานต่างๆ ร่วมกับหลากหลายองค์กร อาทิเช่น Environmental Education Centre (EEC THAILAND), มูลนิธิสืบนาคะเสถียร, องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) และ Agora UNICEF นอกจากนี้ ปันชื่นชอบการเขียนเนื้อร้องและทำนองเพลง และสนใจที่จะทดลองทำงานศิลปะรูปแบบอื่น เช่น วิดีโออนิเมชั่น

แสดงความคิดเห็นต่อผลงาน

บทสัมภาษณ์ชลธร ยงยุคันธร (ปัน)

29 กรกฎาคม 2564

 

ไอเดียมาจากไหน ?

ตอนที่เห็นหัวข้อของงานประกวดหนังก็คิดว่าน่านำมาทำเป็นผลงาน[ศิลปะ]ด้วยค่ะ และได้มีโอกาสได้ชมเพลงสไตล์ JPOP ซึ่งเขามีไอเดียในการนำเรื่องราวที่เกิดขึ้นในโลกของความเป็นจริงมาเล่าผ่านมุมมองที่เป็น fictional [เรื่องแต่ง] ทำให้ตัวเพลงสื่อไปถึงผู้ชมได้หลายระดับค่ะ ถ้าอยากจะสื่อข้อความนี้ไปสู่เยาวชน เขาก็สามารถเข้าใจได้ ในมุมมองที่ลึกซึ้งขึ้นไปกว่านั้น ผู้ใหญ่ก็สามารถตีความได้เหมือนกันค่ะ

 

ประเด็นหลักที่อยากให้คนเห็นคืออะไร ?

ในวิดีโอจะมีตัวละครหลักอยู่สองตัวก็คือ ผู้หญิง และ เด็กชาย ด้วยความที่หนูออกแบบมาให้ตัวละครไม่มีหน้าที่เฉพาะเจาะจง ตัวละครสองตัวนี้จึงจะสื่อถึงใครก็ได้เลย เนื้อเรื่องที่เล่าจะมีจุดเชื่อมโยงกันอยู่ เด็กผู้ชายได้ไปเจอผู้หญิงคนนี้ซึ่งเป็นเหมือนผู้มีพระคุณที่ให้ทุกอย่างกับเด็กชายมา ตรงนี้เป็นจุดหลักที่เชื่อมเรื่องราวทั้งหมด 

 

หนูออกแบบวิดีโอมาให้สามารถตีความไปได้หลายแบบค่ะ ด้วยความที่มันเป็นเส้นที่เหมือนเป็นการวาดรวดเดียวจบอะคะ ความตั้งใจของหนูที่อยากวาดให้เป็นเส้นเดียวเพราะอยากให้รู้สึกว่าเรื่อวราวทั้งหมดมันถูกเชื่อมโยงกันจากภาพสู่ภาพอะค่ะ ก็เลยอยากให้ผู้ชมไปชมและตีความในแบบที่คิดว่าหนูอยากจะสื่อออกไปค่ะ

 

สิ่งที่อยากจะสื่อกับผู้ชมคือ คนคนนี้ที่ให้ทุกอย่างกับเด็กผู้ชายเนี่ย ก็เหมือนกับ Mother Nature ค่ะที่ให้ทุกอย่างกับมนุษย์มา สมมติว่าเราจะเปรียบเทียบอายุของโลกและระยะเวลาที่เรามีชีวิตมา มนุษย์ก็จะเปรียบได้กับเป็นเด็กน้อยค่ะ เราก็อยู่มาไม่นาน แต่ความเสียหายที่เราสร้างมันเยอะมากจนรู้สึกว่าเป็นการทำร้ายคนที่ให้ทุกอย่างกับเรามาอย่างมากเลยทีเดียวอะค่ะ ก็อยากให้ลองมองในมุมที่เป็นความสัมพันธ์ของผู้หญิงกับเด็ก หรือว่าความสัมพันธ์ของแม่กับลูก สิ่งที่เราทำไปก็ไม่ใช่อะไรที่ไกลตัวกับเราเลยสักนิด

 

มีอีกจุดหนึ่งในวิดีโอสื่อถึงแทบจะทุกท่อนเพลงที่ปรากฏคือ แอปเปิ้ล ตั้งใจออกแบบมาให้เป็นเชิงสัญลักษณ์ ถ้าจะพูดถึงสิ่งแรกที่ธรรมชาติได้ให้กับมนุษย์ หนูก็นึกถึงเรื่อง อดัมกับอีฟในคัมภีร์ไบเบิล ถ้าสิ่งที่ผู้หญิงคนนี้ได้ให้เรามาคือแอปเปิ้ล แอปเปิ้ลเปรียบเหมือนสิ่งที่ดีงามที่เด็กได้รับมา การที่แอปเปิ้ลถูกกัดกินไปเรื่อย ๆ ก็เหมือนกับว่ามนุษย์ได้ทำลายสื่งที่ได้รับมาก่อนที่เราจะรู้สึกอีก 

 

เรื่อง อดัมกับอีฟ

แรงบันดาลใจที่เอาแอปเปิ้ลมาเป็นสัญลักษณ์มันค่อนข้างตลกนิดนึงเพราะว่าหนูเรียนแผนวิทย์คณิตกับเพื่อน แล้ววันหนึ่งเราเรียนเรื่องวิวัฒนาการของพืชและสัตว์อะค่ะ เราก็เลยไปนั่งเถียงกันว่า สรุปอดัมกินแอปเปิ้ลจริงหรือเปล่า เพราะว่าในเวลาที่อดัมเกิดมาเนี่ย เราไม่ค่อยมั่นใจเลยว่าแอปเปิ้ลมันวิวัฒนาการออกมาเป็นผลไม้แล้วหรือยัง เราก็เลยเถียงกันในเชิงวิทยาศาสตร์และในเชิง sentiment [อารมณ์ความรู้สึก]ไปด้วยในเวลาเดียวกัน เลยได้รับแรงบันดาลใจมาว่าถ้าเราจะเอาอะไรสักอย่างมาเป็นสัญลักษณ์ว่าเป็นสิ่งแรกที่อดัมจะได้รับจากธรรมชาติ ก็ควรจะเป็นแอปเปิ้ลค่ะ

 

กระบวนการในการทำงาน และปัญหาที่พบ?

คิดว่าปัญหาที่หนูเจอยุวทูตคนอื่นก็น่าจะเจอเหมือนกันนั่นคือปัญหาในการจัดการเวลา การวางแผน และความรอบคอบในการทำงาน ด้วยความที่ว่าจันทร์ถึงศุกร์เราเรียนกันเป็นปกติอยู่แล้ว เวลาที่เราจะนำมาหาข้อมูลหรือหาไอเดียค่อนข้างน้อย แต่ด้วยความที่เรามีเวลาค่อยข้างน้อย เวลาที่มีเราต้องทำให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด 

 

ปัญหาที่เจอจริง ๆ ก็เจอขั้นตอนแรกมากกว่าค่ะ คือเหมือนจุดประกายความคิดขึ้นมาให้ได้ก่อน แล้วเราถึงจะไปต่อไป ประมาณนี้ค่ะ ไอเดียก็ค่อย ๆ พัฒนาขึ้นมา ตอนแรกคิดว่าจะทำเป็นภาพ landscape [ภูมิทัศน์]แล้วเป็นสี ที่หนูเคยพูดไปว่าได้ไปหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่อง SDGs แต่พอเอามาเรียบเรียงแล้ว บางอย่างมันไม่ค่อยลงตัวเท่าไหร่ เราก็ต้องออกแบบมาให้ได้หลาย ๆ แบบ แล้วก็ค่อยตัดทิ้งไปทีละอัน จนกว่าเราจะได้อันที่เราคิดว่าเราเดินทางไปต่อกับมันได้จนสุดปลายทางค่ะ

 

ก่อนและหลังการทำงาน เรามีมุมมองเกี่ยวกับเรื่อง climate change เปลี่ยนไปหรือเปล่า ?

ส่วนตัวมีความสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นเลยได้หาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้มามากอยู่พอสมควรค่ะ 

 

สิ่งที่หนูได้เจอหลังจากทำงานนี้ก็คือ ข้อมูลที่หนูได้เจอจากหลายๆ แหล่งอะค่ะ เขาจะพูดเรื่องเดียวกัน เป็นเรื่องที่เราถูกสอนมา เช่น ถูกสอนให้ปลูกต้นไม้มาตั้งแต่ประถมจนถึงตอนนี้ค่ะ ซึ่งหนูรู้สึกว่าการที่เราไม่ acknowledge [รับรู้]ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจริงๆ แล้วไม่มองเห็นความร้ายแรงที่มันเกิดขึ้นค่ะ แล้วก็พยายามเสนอทางแก้ไขเดิมๆ หนูรู้สึกว่ามันยังไม่ใช่หลักการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องในเรื่อง climate change ค่ะ

 

อย่างที่พี่ ๆ อาจจะทราบกันว่ามีช่วงนึงที่ทุกคนดูตื่นเต้นกับการที่มีฝนตก น้ำท่วม หรือว่ามีเมฆที่ม้วนอยู่ด้านนอกจนคนถ่ายรูปไปลงทวิตเตอร์กันค่ะ หนูรู้สึกว่าเราไม่ควรตื่นเต้นกับอะไรแบบนี้เพราะมันเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันเราอยู่แล้ว ในสิ่งที่เราทำ เช่น เราสั่งชานมมากินที่บ้าน มันก็สร้างขยะ แล้วขยะเวลาเอาไปรวมกันก็เกิดก๊าซเรือนกระจก ส่งผลให้โลกร้อนขึ้น น้ำแข็งละลาย แล้วก็ ocean rising [ระดับน้ำทะเลสูง]ก็จะตามมาอะค่ะ ถ้าเรามองอันนี้เป็นภาพรวมใหญ่ ๆ เราจะรู้สึกว่าชีวิตประจำวันเรากับเมฆม้วนมันเชื่อมโยงกันอยู่อะค่ะ เพราะฉะนั้น การที่เรามองปัญหา climate change เป็นเรื่องที่ไกลตัว หนูว่ามันยังไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องค่ะ หนูอยากจะผลักดันให้เรื่องนี้ไปสู่สายตาผู้คนมากขึ้นอะค่ะ 

 

เราหาข้อมูลเรื่องโลกร้อนจากไหนบ้าง แล้วมององค์ความรู้ต่างๆ ที่เจออย่างไร ?

จากที่ได้หาข้อมูลมา จะมีทั้งหน่วยงานที่เขาสนับสนุนเรื่องนี้ และมีกลุ่มคนที่มีเป้าหมายชัดเจนว่าภายในปีนี้จะทำอะไรให้ได้ อย่างงี้ค่ะ 

 

ซึ่งก็รู้สึกว่าข้อมูลจากหลาย ๆ หน่วยงาน ถ้ามองกว้าง ๆ แล้วมันจะมีบางหน่วยงานที่เขาทำเกี่ยวกับป่า หรือ ทะเลโดยเฉพาะ แต่ทุกหน่วยงานอะค่ะเขาเชื่อมโยงกันไว้ด้วยปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพราะฉะนั้น ถ้าจะแก้ทั้งหมด ทุกหน่วยงานก็ต้อง acknowledge ทั้งหมด แล้วก็เริ่มแก้ปัญหาจากจุดที่ใหญ่กว่าแล้วค่อยไปแก้ปัญหาเล็กๆลงไปเรื่อย ๆ อะค่ะ

 

เราได้เรียนรู้อะไรจากที่โรงเรียนบ้างมั้ย ?

ที่โรงเรียนหนูจะมีคลับชื่อว่า Climate Club ค่ะ โดยจะรวบรวมเด็กจากในโรงเรียนมารวมกันและนั่งคุยกันเรื่องปัญหาโลกร้อนค่ะ ในคลับก็จะมีกิจกรรมเกี่ยวกับปัญหานี้โดยเฉพาะ อย่างเช่น เขาจะให้เด็กออกไปบันทึกข้อมูล precipitation [หยาดน้ำฟ้า]ในกรุงเทพฯ ค่ะ ว่าวันนี้เมฆเป็นยังไง สภาพอากาศเป็นยังไง แล้วเราก็เอามาทำเป็น data [ข้อมูล]ค่ะ 

 

ล่าสุดหนูได้มีโอกาสไปเข้า video conference [ประชุมทางวิดีโอ]กับนักวิทยาศาสตร์จากนาซาที่แคนาดาค่ะ เขามีการทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่อง precipitation [หยาดน้ำฟ้า]แล้วก็สภาพอากาศทั่วโลกอะค่ะที่มาจากโครงการดาวเทียมของเขา มีคนเข้ามาถามว่าถ้าเราผลิตจรวดเพื่อเดินทางไปยังดาวอังคารได้แล้วอ่ะ จะอยากไปมั้ย มีใครอยากจะออกไปจากโลกบ้าง ปรากฏว่านักวิทยาศาสตร์พูดว่าถึงเราจะพัฒนาเทคโนโลยีไปไกลแค่ไหน หรือเราจะไปดาวอังคารได้จริงๆ เขาก็ยังไม่อยากไป เขารู้สึกว่าเราต้องแก้ปัญหาที่โลกไดัก่อน เราถึงจะไปดาวอื่นได้ ถ้าปัญหาโลกร้อนที่เกิดขึ้นมายาวนานขนาดนี้แล้วไม่มีใครคิดจะแก้ เขาก็ไม่คิดว่าการไปดาวอื่นจะทำให้ปัญหาลดลงได้หรอก 

 

ในฐานะเยาวชน เรามองปัญหานี้ในไทยอย่างไร แล้วคิดว่าปัญหาเกิดจากตรงไหน แล้วในฐานะเยาวชนคิดว่าเราทำอะไรให้มันดีขึ้นได้บ้าง ?

ส่วนตัวมองว่าปัญหา climate change ในประเทศไทยก็ไม่ได้ไกลตัวขนาดนั้นนะคะ ด้วยความที่โรงเรียนหนูอยู่ในเมืองด้วย คนชอบบอกว่าเผาป่าในต่างจังหวัดมันจะไม่มากระทบเราซึ่งคิดว่าไม่จริงเพราะว่าหนูอยู่โรงเรียนกลางเมือง รถก็วิ่ง PM2.5 ก็มา เราต้องหยุดเรียนอะค่ะ ถ้าสมมติปัญหาไม่ถูกแก้ ลองมองจากภาพเล็กๆในโรงเรียนก่อนเลยนะคะ ถ้าการเผาป่านำฝุ่นมาสู่ในเมือง แล้วโรงเรียนต้องปิด แล้วไม่ใช่แค่โรงเรียนหนูที่เดียวอะค่ะ มันเป็นทั้งเขตเลย ถ้าอนาคตมันไม่ถูกแก้ มันไม่ใช่แต่หนึ่งหรือสองอาทิตย์ หรือหนึ่งเดือน แต่เป็นตลอดเวลาอะค่ะ แล้วนักเรียนจะไม่มีสิทธิ์ได้เรียนเลยหรอคะ ปัญหานี้เป็นปัญหาที่ใหญ่เลยทีเดียว ถ้าตอนนี้หนูอายุ 15 ใช่มั้ยคะ แล้วปัญหายังไม่ถูกแก้ มันจะมีเด็กรุ่นน้องหนูลงไปอีกสักกี่คนที่ไม่มีโอกาสได้ไปโรงเรียนเพราะอากาศเสียและสิ่งแวดล้อมไม่ดีอะค่ะ 

 

อีกปัญหาที่หนูคิดว่าคนอาจจะมองข้ามไปก็คือ น้ำประปาเค็มอะค่ะ จริง ๆ แล้วมันเกิดขึ้นเพราะระดับน้ำทะเลสูงขึ้นใช่มั้ยคะ แล้วทุกคนก็จะบ่นว่าน้ำประปามันเค็มอีกแล้วต้องซื้อน้ำมากิน ห้ามกินน้ำกรองอะไรอย่างนี้ค่ะ มันอาจจะเป็นปัญหาที่ดูน่าตลกขบขันเวลาเอาไปนั่งคุยกับเพื่อนใช่มั้ยคะ อู้ วันนี้น้ำเค็มอีกแล้ว อะไรอย่างงี้ค่ะ จริงๆ แล้วมันเป็นปัญหาใหญ่นะคะที่แม้แต่ตอนนี้ที่หนูยังเรียนรู้ค่ะ มีเยาวชนอีกมากมายที่เขาประสบปัญหานี้ก็แปลว่า ระดับน้ำทะเลมันสูงพอที่จะทำให้น้ำประปามันเริ่มจะดื่มหรือใช้ไม่ได้แล้วอะค่ะ มันเป็นปัญหาที่ต้อองหาทางแก้อย่างจริงจังแล้วค่ะ ถ้าปล่อยให้ระดับน้ำทะเลมันสูงขึ้นเรื่อยๆ นอกจากจะไปโรงเรียนไม่ได้แล้วยังใช้น้ำไม่ได้ด้วย เราอาจจะต้องพกถังออกซิเจนเดินเพราะเราไม่มีอากาศที่สะอาดไว้หายใจอีกแล้วก็ได้ค่ะ หนูคิดว่าการมองปัญหาพวกนี้ให้มันไม่ใช่ปัญหาเล็ก ๆ อะค่ะ มองให้มันเป็นเรื่องเร่งด่วนและหาทางแก้ไขปัญหาโดยเร็วอะค่ะ

 

คิดว่าเรื่อง generation gap ทำให้คนต่างวัยมองปัญหานี้ต่างกันมั้ย ?

ในเรื่องของ generation หนูมองว่ามันก็ค่อนข้างเป็นอะไรที่ต้องพูดคุยกันด้วยอะค่ะ หนูมีโอกาสไปร่วมโครงการของสิงคโปร์ค่ะ เป็นโครงการเกี่ยวกับการพัฒนาโครงงานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมด้วยค่ะ แต่สิ่งที่หนูไม่เข้าใจว่า ทำไมต้องมีคือการจำกัดอายุอะค่ะ หนูรู้สึกว่าการแก้ปัญหาทางสิ่งแวดล้อมอะ ยิ่งเราปลูกฝังไว้กับเด็กยิ่งดีกว่าการไปปลูกฝังผู้ใหญ่เพราะ mindset [วิธีคิด]ของเด็กจะเปลี่ยนแปลงได้ง่ายกว่า อย่างหนูได้รับการปลูกฝังให้ปลูกต้นไม้มาตั้งแต่ป.1 ถ้าเราเปลี่ยนจากการบอกเด็กว่าให้ปลูกต้นไม้เพราะมันจะช่วยให้ลดโลกร้อน เป็นการสอนให้เขารู้ว่า climate change คืออะไร มันกำลังส่งผลกระทบกับเราอย่างไรบ้าง เราจะทนอยู่กับมันหรอหรือจะเริ่มแก้ไขมันตั้งแต่ตอนนี้ สิ่งที่เป็นอะไรที่น่าแปลกใจคือ กลุ่มที่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นคนรุ่นถัดไปอีกค่ะ ซึ่งเขามีความเข้าใจเกี่ยวกับ climate change อยู่พอสมควร แต่เขาไม่คิดว่าเด็กจะมีศักยภาพในการแก้ไขปัญหานี้ได้ ซึ่งหนูรู้สึกว่าเด็กมีกำลังพอที่จะแก้ไขได้ถ้าเขามีความรู้ ส่วนผู้ใหญ่ถ้าเขามีความรู้แล้วอยากจะแบ่งปันให้กับเยาวชนแล้วร่วมกันแก้ไขทั้งสองฝั่งอะค่ะ รู้สึกว่าการทำแบบนี้จะมีประสิทธิภาพมากกว่า เหมือนเป็นการสร้างบุคลาการที่มีคุณภาพในระยะยาวอะค่ะ

 

หนูไม่อยากให้ปัญหานี้มันทิ้งหายไปสักรุ่นเลยอะค่ะ อยากให้ทั้งผู้ใหญ่ที่มีความรู้ได้ปลูกฝังให้เด็กรุ่นถัดมาเรื่อย ๆ เราจะหยุดสัก generation ไม่ได้เลย ปัญหานี้มันไม่ได้จะหายไปเองค่ะ มันต้องแก้ไขในระยะยาวเพราะเราก็ทำมันพังมาด้วยเวลาที่ค่อนข้างนาน เวลาแก้ไขก็ต้องใช้เวลานานเท่ากันค่ะ

 

เราเห็นว่าเพื่อนๆ รุ่นเดียวกันมีความตระหนักรู้เรื่องผลกระทบมากน้อยแค่ไหน ?

คิดว่าเด็กรุ่นนี้มีความเปิดกว้างพอสมควร เขาพร้อมที่จะรับแนวคิดใหม่ ๆ เข้ามาค่ะ ขณะเดียวกันก็มีคนบางกลุ่มที่คิดว่า climate change เป็นปัญหาที่ไม่ใหญ่ แต่หนูรู้สึกว่าในยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้าไปเรื่อยๆ อะคะ มันจะต้องมีคนคิดว่า เดี๋ยวมันต้องมีเทคโนโลนยีมาแก้ไขปัญหานี้ได้แน่นอนอะไรอย่างงี้ค่ะ แต่ความจริงมันไม่ได้เป็นอย่างงั้นค่ะ ได้มีโอกาสหาข้อมูลเรื่อง renewable energy [พลังงานหมุนเวียน]ค่ะ แล้วทุกคนก็จะคิดว่าจะเป็นทางเลือกใหม่ที่มาแก้ปัญหา แต่ถ้าเราลองมองไปจริง ๆ renewable energy ใช้แค่เปอร์เซ็นต์เลขหลักเดียวจากพลังงานทั้งหมดค่ะ แล้วคิดว่ากว่าที่เราจะสามารถไปหาพลังงานที่มาทดแทน fossil fuel [เชื้อเพลิงฟอสซิล]ทั้งหมดได้อะค่ะ เราจะยังมีโลกที่อยู่ได้รึเปล่า ถ้าเรามองแต่ว่าจะมีเทคโนโลยีมาแก้ปัญหาได้ แล้วก็ได้แต่คอยเทคโนโลยี ในระยะเวลาเดียวกันที่เราพัฒนาเทคโนโลยีเราก็ทำลายสิ่งแวดล้อมไปด้วยอะค่ะ เราก็ต้องรู้เรื่องนี้ให้มากหน่อยค่ะ อย่ามองว่า climate change มันเป็นเรื่อง fake news หรืออะไรเลยค่ะเพราะว่าวิทยาศาสตร์ไม่โกหกค่ะ ถ้ามันบอกว่าโลกเรากำลังโดนทำลายอยู่แปลว่ามันกำลังโดนทำลายอยูาจริง ๆ และเรากำลังจะได้รับผลกระทบของมันค่ะ 

 

อยากฝากอะไรถึงคนทั่วไปเรื่องการสานสันติสู่ธรรมชาติ ?

อยากฝากถึงทุกคนที่เริ่มสนใจเรื่อง climate change นะคะ หนูรู้สึกว่าถ้าคุณมีความสนใจและไอเดีย เรื่องนี้มันไม่ใช่เรื่องที่ควรจะเก็บไว้คนเดียวอะคะ เพราะมันยังมีอีกหลายคนที่อยากจะเริ่มลงมือแก้ไข มันจะต้องมีคนเริ่ม แต่ตอนนี้มันมีคนเริ่มแล้วเพราะฉะนั้นเราต้องการคนตามค่ะ ก็มาช่วยกันเถอะค่ะ มนุษย์เป็นสัตว์สังคมค่ะ ถ้าคนส่วนใจเริ่มทำ คนส่วนน้อยก็จะตามเองอะค่ะ ปัญหามันไม่ใช่ว่าจะแก้ไขไม่ได้ค่ะ แต่เป็นปัญหาที่ต้องแก้ไข และจะแก้ไขได้ถ้าเราช่วยกันค่ะ

bottom of page