top of page
ซัน วัยรุ่นเชื้อสายจีน ผู้อ่อนโยนและรักโลก ที่มีความต่างในเรื่องของGenarationระหว่างแม่กับอาม่า ต้องเป็นคนกลางเพื่อจัดประเพณีการไหว้บรรพบุรุษแบบอนุรักษ์นิยมให้เกิดขึ้นท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างแม่กับอาม่า เมื่ออาม่าบอกทุกคนว่า “ฉันจะไป”.
เซเก่ทู ชายหนุ่มชนเผ่าปกาเกอะญอวัยเบญจเพส ลาออกจากงานในเมืองหลวง เพื่อกลับมาปกป้องป่าเดปอผืนสุดท้าย เมื่อรู้ข่าวว่าจะมีนายทุนมากว้านซื้อที่เพื่อทำรีสอร์ทและแหล่งท่องเที่ยว โดยมีโจ้อดีตเพื่อนร่วมงานของเซเก่ทู ตามมาเก็บข้อมูลพื้นที่เพื่อรายงานหัวหน้าที่เป็นนายทุน เซ่เก่ทูจึงต้องหาหนทางเพื่อรักษาผืนป่าแห่งนี้ไว้
Zeketu, a 25-year-old Karen man, quits his job in Bangkok and returns to his home village after learning that the last forest of his home village ‘Depor' could be turned into a tourist resort. At his village, he meets a former colleague, Jo, who works on the resort project. Zeketu must figure out a way to protect his homeland.
โรสนี นูฟารีดา หรือ ‘ดะห์’ กวีสาวชาวมุสลิม ผู้เคยเขียนบทกวีรวมเล่มจนได้เข้าชิงและเป็น Shotlisted รางวัล S.E.A. Write ในปี 2016 กำลังหาแรงบันดาลใจเพื่อแต่งกวีเกี่ยวกับการกัดเซาะชายฝั่งและโครงสร้างแข็งกันคลื่นในสงขลา จังหวัดบ้านเกิดของเธอเอง ทว่าคอนกรีดต่าง ๆ ที่สร้างเพื่อป้องกันการกันเซาะ แต่กลับทำให้เกิดการกัดเซาะด้านข้างมากขึ้น ภาพยนตร์เรื่อง ‘เบื้องหลังกำแพง’ ร้อยเรียงบทสัมภาษณ์ของผู้คนสลับกับบทกวีที่ถูกแต่งขึ้นเพื่อนำเสนอสัจธรรมของธรรมชาติ
BEHIND THE WALL stitches together a poem by the 2016 South East Asian (SEA) Writers Award finalist Rossanee Nurfarida and intellectual interviews of academics and people whose voices express the concerns of the shoreline erosion in Songkhla Province, caused by the hazard of coastal infrastructure.
ความเชื่อและความศรัทธาในเรื่อง ‘‘ผีตาแฮก’’ ประเพณีท้องถิ่นเกี่ยวกับการปลูกข้าวของชาวบ้านกู่กาสิงห์ จังหวัดร้อยเอ็ด สะท้อนให้เห็นการเคารพบูชาผืนดิน ซึ่งสอดคล้องกับการดูแลรักษาธรรมชาติและระบบนิเวศที่ซับซ้อนของดิน
การดูแลรักษา ‘ดิน’ คือหนึ่งหนทางในการปกป้องและซ่อมแซมดินที่เสื่อมโทรมจากภัยคุกคามต่างๆ เช่นเดียวกับพิธีการสักการะบูชา ‘ผีตาแฮก’ ที่ช่วยหล่อหลอมใจผู้คนให้มีความกตัญญูและสำนึกในบุญคุณต่อธรรมชาติ
“Phi Ta Haak”, a local belief and tradition that is related to rice cultivation, is practiced among people in Ku Ka Sing, Roi Et province. The documentary portrays people’s belief and ritual in worshipping spirits that guard over the land, the soil, and the lives of people and show the benefits to the soil ecosystem.
สารคดีบันทึกบทสนทนาระหว่างการทำนา ของชาวห้วยหูด อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์
A documentary unfolds conversations among Huai Hut farmers during the growing season in Uttaradit.
เรื่องราวของผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาฝุ่นควัน PM2.5 ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ สารคดีสำรวจแง่มุมต่าง ๆ จากคนในพื้นที่และตั้งถามถึงอนาคตของเชียงใหม่ ความคาดหวัง และการเปลี่ยนแปลง
The high level of PM 2.5 concentration has become a major issue that affects the lives of people in Chiang Mai. Without urgent actions to stop the problem, what will the future look like?
สารคดีที่พาไปสำรวจแนวคิดและความสำคัญของการออกแบบเมืองเพื่อความสมดุลและยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและมนุษย์จาก คุณยศพล บุญสม ผู้ร่วมก่อตั้งโครงการ we!park ที่มีแนวคิดเปลี่ยนพื้นที่ร้างในกรุงเทพฯ ให้กลายมาเป็นพื้นที่สาธารณะ คุณชาญชัย พินทุเสน ผู้ก่อตั้งมูลนิธิกระต่ายดวงจันทร์ที่ออกแบบกิจกรรมให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ระบบนิเวศป่า และคุณระริน สถิตธนาสาร เยาวชนวัย 15 ปีที่ออกมาเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมแก่โลกใบนี้
A documentary focuses on three individuals who are committed to environmental development, showing the importance of urban design in building a friendly and sustainable environment, environmental studies in cultivating children to be friends with nature and youth voice in amplifying climate justice.
“มลาบรี วิถีพงพนา” นำเสนอวิถีชีวิตและมุมมองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของชาวเผ่ามลาบรีหรือเผ่าผีตองเหลือง ชาติพันธุ์ที่อยู่อาศัยกับธรรมชาติมาตั้งแต่บรรพบุรุษและมักถูกกล่าวหาว่าเป็นหนึ่งในต้นเหตุสำคัญของปัญหาไฟป่าและสภาพอากาศที่เลวร้ายในภาคเหนือ ทั้งที่แท้จริงแล้วมลาบรีนั้นอยู่กับธรรมชาติอย่างสันติและเกื้อกูลกัน
The film depicts the way of living and perspective on climate change of the Malabri people or Phi Tong Luang, an ethnic tribe that is peacefully inhabited with nature. Although they are always in harmony with nature, they tend to get blamed for climate change.
สารคดีล้อเลียนบอกเล่าเรื่องราวของชายหนุ่มสามคนที่ทำหนังสารคดีเกี่ยวกับปัญหาโลกร้อนเพื่อส่งประกวด
A mockumentary about a group of friends making a documentary about climate change for a climate change film festival.
ความคิดคำนึงจากจิ้งจอก หลุมศพปริศนาของลูกหมา และ โลกาวินาศ
ฝ้าย เด็กสาวชนบท ต้องไปรำถวายชีวิตให้กับเทพแห่งธรรมชาติ ตามความเชื่อส่วนบุคคลที่ครอบครัวพร่ำสอน
Fai, a rural girl, must perform a ritual dance for the God of nature in exchange for abundance.
ประเทศไทย ได้รับการยกย่องว่าเป็นครัวของโลก ดินแดนเกษตรกรรม และวัฒนธรรม แม่ชีคาทอลิก หรือที่เรียกกันว่าซิสเตอร์ ต่างมีบทบาทหน้าที่แตกต่างกันไป ทั้งการแพร่ธรรม สังคมสงเคราะห์ การรักษาผู้ป่วยที่ยากจน ยังต้องทำการเกษตรเพื่อหารายได้ไปบำรุงสถาบันการศึกษาของตน ไม่กี่ปีมานี้ โลกร้อนขึ้น สภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้ส่งผลต่อปรากฎการณ์เอลนีโญ ไร่นาแห้งแล้ง ผลผลิตไม่ดี ส่งผลกระทบอย่างมากในปีนี้ ที่ภัยแล้งแผ่ขยายกว้างขึ้น รุนแรงมากขึ้น ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นผลจากการกระทำของมนุษย์ จึงเกิดคำถามว่า “เราจะสานสันติสู่ธรรมชาติ ช่วยกันลดการเกิด เอลนีโญ ได้อย่างไรบ้าง?” ความหวังของซิสเตอร์ ที่สามารถทำได้นั่นก็คือ “ปลูกฝังนักเรียนในแต่ละโรงเรียนของตนเอง ให้รู้รักษ์สิ่งแวดล้อม และตระหนักถึงภาวะโลกรวน” และผลผลิตจากการปลูกฝังจิตสำนึกแก่เยาวชนนั้น ไม่สูญเปล่า
bottom of page